การเสวนาชุด "สิกขีเสวนา" เป็นกิจกรรมเชิงวิชาการ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการศึกษาวิจัยและการค้นคว้าเฉพาะด้าน "ประชาคมสิกข์" (Sikh Communities) ที่ครอบคลุมมิติสังคมวัฒนธรรม มิติประวัติศาสตร์ และมิติปรัชญาศาสนา เริ่มต้นจัดกระบวนการและจัดเก็บข้อมูลตั้งแต่ พ.ศ.2553/ค.ศ.2010 โดยศูนย์ภารตะศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
เฉพาะคำว่า "สิกขี" (Sikhi) มีนัยเชิงปรัชญาศาสนาและความเป็นสิกขี (ซิกข์) ดังนั้น สิกขีเสวนา มีเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ (1) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้บนฐานงานวิจัยด้านสังคมวัฒนธรรมและด้านปรัชญาศาสนาสิกข์ เป็นการเผยแพร่สู่สาธารณะในสังคมไทย (2) เพื่อเปิดพื้นที่ให้กับชาวไทยสิกข์ได้เข้าร่วมแสดงทัศนะในหลายมิติ (3) เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในสังคมพหุลักษณ์ของสังคมไทย เฉพาะชุมชนชาวไทยสิกข์
The series of talks "Sikhi Talks" is an academic activity. As a result of research studies and specific research "Sikh Community" that covers the socio-cultural element, historical element and elements of Sikh philosophy. We have started organizing the process and collecting data since 2010 by the Centre for Bharat Studies, Research Institute for Languages and Cultures of Asia Mahidol University (RILCA).
The word "Sikhi" itself has imply Sikh philosophy as well as Sikh Religion. Therefore, "Sikhi Talk" has three main goals: (1) to disseminate knowledge on the basis of research on Socio-cultural and philosophical aspects of Sikhism. It is disseminated to the public in Thai society. (2) To open up space for Thai Sikhs to express their views in many dimensions. (3) To promote knowledge and understanding of the pluralistic behavior of Thai society. Especially the Thai Sikh community.