หลักสูตรอินเดียศึกษา (ปริญญาโท) | M.A. (Indian Studies)

แนะนำหลักสูตร

ประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับประเทศอินเดีย โดยผ่านการค้าและศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ท่านพุทธทาสกล่าวว่า "…สายเลือดที่มันเป็นอินเดียที่เขาฝังมาให้โดยชาวอินเดียครั้งกระโน้นเอาออกได้เมื่อไร มันก็สืบต่อกันมาจนบัดนี้ มันก็ต้องรับรู้ว่าเรามันสร้างชีวิต สายเลือดสายเนื้อขึ้นมาจากสองศาสนา ทั้งศาสนาฮินดูทั้งศาสนาพุทธ …มีศาสนาฮินดูเป็นแม่ มีศาสนาพุทธเป็นพ่ออยู่โดยไม่รู้สึกตัว" (พุทธทาสภิกขุ พระคุณที่อินเดียมีต่อไทย, 2533: 18, 24) ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกและมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่ เป็นแหล่งอารยธรรมของโลก เป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยที่เก่าแก่และเข้มแข็งมาก ในขณะเดียวกันก็เป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อินเดียเป็นประเทศหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงวิถีการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง มีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสามารถธำรงรักษาวัฒนธรรมอินเดียไว้ได้ท่ามกลางโลกยุคโลกาภิวัตน์ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดของโลก อินเดียเป็นประเทศมหาอำนาจของเอเชียใต้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) สูงถึง 10% และเป็นประเทศที่สำคัญประเทศหนึ่งของเอเชีย นอกเหนือจากจีน และญี่ปุ่น อินเดียมีนโยบาย "มองตะวันออก" (Look East policy) ในขณะที่ประเทศไทยมีนโยบาย "มองตะวันตก" (Look West policy) ซึ่งเป็นนโยบายที่มีความสอดคล้องกัน อินเดียเป็นประเทศเศรษฐกิจใหม่ที่มีกำลังซื้อในระดับกลางและระดับสูงราว 300 ล้านคน และในขณะนี้ ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและประเทศอินเดียครบรอบ 60 ปีในปีพ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่อยู่ในระดับที่ดีมาก ดังนั้น ประเทศไทยควรส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเกี่ยวกับประเทศอินเดียในมิติต่างๆ ให้มากขึ้นเพื่อประโยชน์ในการสร้างความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นต่อไป

หลักสูตรศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศึกษาและการพัฒนา จึงได้เปิดวิชาเอก "อินเดียศึกษา" ขึ้นในปีการศึกษา 2550 ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทย เป็นการบูรณาการระหว่างมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อสร้างนักวิชาการที่เข้าใจและสามารถสร้างองค์ความรู้ทั้งในด้านกว้างและลึกเกี่ยวกับอินเดียในมิติต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้สนองกับทิศทางการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยและอินเดียที่เพิ่มขึ้นจาก 20 ล้านเป็น 4 พันล้านเหรียญ ในปี 2007 และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น 300% ของทั้งสองประเทศ ดังนั้น ตลาดแรงงานไทยยังมีความต้องการผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านอินเดียที่สามารถทำงานทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายหรือวางแผนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิผลตามที่ตั้งไว้

หมายเหตุ : ปัจจุบันคือหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศึกษา วิชาเอกอินเดียศึกษา

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาหรือหลักสูตรเทียบเท่าปริญญาตรีทุกสาขา
  2. ได้คะแนนสะสมเฉลี่ย (GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.5

* ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับคัดเลือกตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก นักศึกษาต้องศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต รวม 42 หน่วยกิต
แผน ข นักศึกษาต้องศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และทำสารนิพนธ์ 6 หน่วยกิต รวม 42 หน่วยกิต
นักศึกษาเลือกเรียนแผนใดก็ได้ แต่ทั้งแผน ก และ ข ต้องเรียนวิชาเสริมพื้นฐานภาษาฮินดี 2 วิชาไม่คิดเกรด นักศึกษาสามารถเลือกเรียนแผนใดแผนหนึ่งได้

แผน ก: วิทยานิพนธ์
แผน ข: สารนิพนธ์
     วิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
6  หน่วยกิต
     วิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
6  หน่วยกิต
     วิชาแกน
6  หน่วยกิต
     วิชาแกน
6  หน่วยกิต
     วิชาบังคับวิชาเอก
15  หน่วยกิต
     วิชาบังคับวิชาเอก
18  หน่วยกิต
     วิชาเลือก
9  หน่วยกิต
     วิชาเลือก
12  หน่วยกิต
     วิทยานิพนธ์
12  หน่วยกิต
     สารนิพนธ์
6  หน่วยกิต
     รวม
42  หน่วยกิต
     รวม
42  หน่วยกิต

ตัวอย่างรายวิชาที่เปิดสอน

  • แนวคิดหลักทางด้านวัฒนธรรมศึกษา
  • วิธีวิทยาในการศึกษาสังคมวัฒนธรรม
  • วัฒนธรรมและอารยธรรมอินเดีย
  • อายุรเวท: ภูมิปัญญาโบราณกับการใช้สมัยใหม่
  • อินเดียร่วมสมัย : การพัฒนาการเมือง เศรษฐกิจ นโยบายการค้า และการเข้าสู่ตลาดการค้าอินเดียรวมถึงประเด็นด้านการท่องเที่ยว
  • อินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: มรดกร่วมทางวัฒนธรรม
  • ภาพยนตร์อินเดีย: กระแสและสังคม

นักศึกษาสามารถออกภาคสนามที่ประเทศอินเดียหรือชุมชนชาวอินเดียในประเทศไทยหรือในประเทศเพื่อนบ้านได้

การเรียนและการวัดผล

นักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษาในขั้นปริญญามหาบัณฑิตจะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของบัณฑิตวิทยาลัยดังต่อไปนี้

  1. มีระยะเวลาศึกษาและทำวิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรไม่เกิน 5 ปี หรือทำสารนิพนธ์ไม่เกิน 2 ปี
  2. ลงทะเบียนเรียนรายวิชาไม่เกิน 15 หน่วยกิตต่อภาคการศึกษา
  3. ผ่านการสอบวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์

ค่าหน่วยกิตและค่าธรรมเนียม

ค่าหน่วยกิตและค่าธรรมเนียมการศึกษาแบ่งออกเป็นดังนี้

  1. ค่าหน่วยกิต หน่วยละ 900 บาท
  2. ค่าธรรมเนียมการศึกษา
  3. ค่าธรรมเนียมการศึกษา ภาคการศึกษาที่ 1 รวม 5,050 บาท
  4. ค่าธรรมเนียมการศึกษา ภาคการศึกษาที่ 2 รวม 4,350 บาท
  5. ค่าลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ 8,400 บาท/ฉบับ
    ค่าลงทะเบียนภาคสนามประเทศอินเดีย หรือในประเทศไทย หรือในประเทศเพื่อนบ้าน จะแจ้งให้ทราบเป็นกรณี

กำหนดการรับสมัคร

เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่
รอบที่ 1 ระหว่างเดือน ตุลาคม-ธันวาคม
รอบที่ 2 ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม ของทุกปี

การสอบเข้า

สอบ 2 วิชา ได้แก่

  1. วิชาภาษาอังกฤษ
  2. วิชาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเทศไทยและอินเดียเป็นภาษาอังกฤษและ/หรือภาษาไทย

ข้อมูลการรับสมัคร

งานบริการการศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย โทร. 0-2800-2308-14 ต่อ 3101